การประชุมและลงพื้นที่โครงการสำรวจและพัฒนาทักษะความพร้อมเยาวชนและประชากรวัยแรงงานจังหวัดพะเยา

การประชุมและลงพื้นที่โครงการสำรวจและพัฒนาทักษะความพร้อมเยาวชนและประชากรวัยแรงงานจังหวัดพะเยา จากความสำเร็จในการที่มหาวิทยาลัยพะเยา และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา เทศบาลเมืองพะเยา นำจังหวัดพะเยาเข้าเป็นสมาชิกเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2564/2565 ทำให้เกิดการจุดประเด็น การใช้ เมืองแห่งการเรียนรู้เป็นเครื่องมือลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ในระดับชาติ และเป็นที่มาของการประชุม ในวันที่ 20 กันยายน 2566 องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา โดยนายอัษฎากรณ์ ฉัตรานันท์ เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา นายสยาม ปรีชา รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยารักษาราชการแทนปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา และนางธนพรรธน์ สุขตัว หัวหน้าสำนักปลัดฯ ร่วมประชุมโครงการสำรวจและพัฒนาทักษะความพร้อมเยาวชนและประชากรวัยแรงงาน จังหวัดพะเยา ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคณะทำงาน โดย คุณโคจิ มิยาโมโตะ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ด้าน Global Practice จากธนาคารโลก,กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.), มหาวิทยาลัยพะเยา, สำนักงานสถิติจังหวัดพะเยา, สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา และประธานชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติก เพื่อพูดคุยทำความรู้จักคณะทำงานทีมกลางจากธนาคารโลกและกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และแนะนำข้อมูลและสถานการณ์ของจังหวัดพะเยาให้กับคณะทำงานทีมกลาง สำหรับใช้ออกแบบกระบวนการและเครื่องมือสำรวจ การประชุมฯ ได้มีการวางแผนดำเนินการสำรวจทักษะพื้นฐานของมนุษย์ในจังหวัดพะเยา โดยการใช้เครื่องมือการประเมินที่ได้รับการตรวจสอบแล้วจากโครงการวิจัยสำรวจทักษะและความพร้อมของกลุ่มประชากรวัยแรงงาน (ASAT) พร้อมทั้งสำรวจนโยบายและโครงการต่างๆ ในจังหวัดพะเยา ที่จะสามารถขับเคลื่อนเพื่อจัดการกับปัญหาการขาดแคลนทักษะ และเตรียมความพร้อมให้เยาวชนและประชาชนวัยแรงงานสู่ตลาดแรงงานในศตวรรษที่ 21 ซึ่งกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย เยาวชนและประชาชนวัยแรงงาน อายุ 15 – 64 ปี และโครงการดังกล่าวมีระยะเวลาการดำเนินงาน 3 ปี ในระหว่างปี 2566 – 2568