#ความมั่นคงทางอาหาร #เกษตรปลอดภัย #SDGs #การพัฒนาที่ยั่งยืน #ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน
วันที่ 23 พฤษภาคม 2566 นายธวัช สุทธวงค์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา เป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรมส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงกบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา ประจำปี 2566 ในระหว่างวันที่ 23-24 พฤษภาคม 2566 พร้อมด้วยนายสวัสดิ์ หอมนาน รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นางสังวาลย์ เขื่อนวัง นายกเทศมนตรีตำบลบ้านใหม่ กำนันตำบลบ้านใหม่ กำนันตำบลท่าจำปี กำนันตำบลแม่นาเรือ คณะผู้บริหาร ข้าราชการเจ้าหน้าที่ และประชาชนที่สนใจเข้าร่วมอบรมจำนวน 40 คน ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา (ศูนย์สามวัยประจำอำเภอเมืองพะเยา) โรงเรียนบ้านโป่ง ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา มี #นโยบายด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาและส่งเสริมอาชีพประชาชนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียงและส่งเสริมสนับสนุนให้ความรู้ในการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพแบบพึ่งตนเอง ในพื้นที่ “ศูนย์สามวัย” ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาอาชีพต่าง ๆ ตามภูมิปัญญาดั้งเดิมให้เกิดเป็นรายได้เสริม สร้างเศรษฐกิจและสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือน องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยาจึงได้ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงกบเพื่อเศรษฐกิจ ตำบลบ้านใหม่ รหัสทะเบียน 6-56-01-11/1-0051 เพื่อเป็นกลุ่มนำร่องส่งเสริมอาชีพ และเป็นตัวอย่างในการบริหารจัดการตนเองในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน
พร้อมกันนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การขับเคลื่อนงานวิจัย นวัตกรรม และบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาจังหวัดพะเยา ร่วมกับ มหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อร่วมมือกันพัฒนาจังหวัดพะเยาในมิติต่างๆ บนฐานองค์ความรู้วิชาการที่ทันสมัยจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งมีความมุ่งหวังในการพัฒนาจังหวัดพะเยาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะมิติความมั่นคงทางอาหารและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) จึงได้เกิดความร่วมมือในการจัดทำโครงการฝึกอบรมส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงกบในครั้งนี้ โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 4 ท่าน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร สีตะพันธุ์ รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิศักดิ์ ปิ่นมงคลกุล ดร.วารัชต์ มัธยมบุรุษ และ ดร.นิรมล พรมนิล จากโครงการวิจัยการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าเชิงนิเวศด้วยนวัตกรรมการผลิตกบยั่งยืนสร้างสรรค์เชิงพาณิชย์ สร้างชุมชน นวัตกรรมสู่การเป็นเมืองคลังแห่งอาหารจังหวัดพะเยา มหาวิทยาลัยพะเยาร่วมดำเนินการ
Post Views: 233